เล่าเรื่องปัญหาเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ พื้นที่สำรวจการจัดการขยะในพื้นที่รางน้ำ
ต่อจากโพสต์ก่อนหน้า วันนี้พวกเรา Think Things ก็จะมาเล่าเรื่องปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอีกครั้ง โดยเรามูฟจากพื้นที่สามเสนเขตดุสิต มาสู่การลงพื้นที่สำรวจการจัดการขยะในพื้นที่รางน้ำ เป็นเวลากว่า 3 เดือน ก่อนที่เราจะทำการต่อยอดไปเป็นไอเดียในการสร้างโมเดลธุรกิจหุ้นส่วนตามเป้าหมายของพวกเรา ในแบบที่เพื่อน ๆ เข้าใจได้ง่ายเช่นเดิม เบื้องต้นพวกเราขอแจกแจงปัญหาที่พบตามมิติของผู้มีส่วนร่วมในระบบหมุนเวียนขยะในพื้นที่ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย องค์กร และ ผู้สัญจร แต่ละ Role จะเชื่อมโยงส่งผลอย่างแตกต่างกันไปต่อสถานการณ์ในพื้นที่ (พบกับเรื่องราวของพวกเขาได้ในภาพปเบื้องต้นพวกเราขอแจกแจงปัญหาที่พบตามมิติของผู้มีส่วนร่วมในระบบหมุนเวียนขยะในพื้นที่ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย องค์กร และ ผู้สัญจร ซึ่งแต่ละ Role จะเชื่อมโยงส่งผลอย่างแตกต่างกันไปต่อสถานการณ์ในพื้นที่ (พบกับเรื่องราวของพวกเขาได้ในภาพประกอบของโพสนี้) เหล่านี้คือมิติของผู้มีส่วนร่วมหลัก ๆ ในพื้นที่รางน้ำ นอกจากนี้บริการเก็บขยะของพื้นที่นั้นแม้จะมีความสม่ำเสมอแต่ก็มีความเหลื่อมของเวลาและรถเก็บขยะขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าถึงตรอกซอกซอยของหลาย ๆ ชุมชนได้ ทำให้ต้องมีการนำขยะมาวางไว้อย่างไม่เป็นทางการซึ่งเกิดความเน่าเหม็นเดือดร้อนเป็นความขัดแย้งในชุมชน ดังนั้นการออกแบบพื้นที่และนโยบายการจัดการขยะร่วมกันในแต่ละชุมชนที่จะทำจึงต้องมีความเฉพาะเจาะจง อันเป็นต้นทุนของผู้ที่เข้าไปจัดการหรือสมาชิกชุมชนที่ต้องเสียสละเวลามาออกแบบร่วมกัน แน่นอนนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐก็อาจจะส่งผลกับผู้มีส่วนร่วมในวงจรนี้ โชคดีที่พวกเราค้นพบบางชุมชนที่ผู้นำและชุมชนมีความเข้มแข็งได้มีการทดลองโครงการด้านการแยกขยะไว้แล้ว ที่พร้อมจะรับการเปลี่ยนแปลงพัฒนา หรือร้านค้าและห้างสรรพสินค้าที่เจ้าของมีความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี พื้นที่รางน้ำเขตราชเทวีคือหนึ่งในพื้นที่ทำงานของพวกเราที่จะขยายผลต่อไปในอนาคต นับว่าเป็นความท้าทายและโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ ThinkThings กำลังทำคือหาการร่วมมือที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มคนในระบบนี้ให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ต้นทาง จุดกำเนิดขยะ การเดินทางนี้ต้องการความช่วยเหลือและการร่วมแรงร่วมใจมากแต่พวกเราจะทำอย่างเต็มที่ ฝากเพื่อน […]
ทำ Workshop ความรู้พื้นฐานและแนวคิดการแยกขยะที่ชุมชนวัดโบสถ์ พื้นที่สามเสน
ฮัลโหล ๆ ! ทีม ThinkThings ไปทำ Workshop ความรู้พื้นฐานและแนวคิดการแยกขยะที่ชุมชนวัดโบสถ์ พื้นที่สามเสน มาจ้า เมื่อวันที่ 29 ตค. ที่ผ่านมา บรรยายโดยคุณ พีรดา ปฏิทัศน์ ผู้นำคนสำคัญเรื่องการปฏิวัติขยะในจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วเรายังแนะนำให้ชุมชนได้รู้จักกับแพลตฟอร์ม “มารี-อัพ” ที่พวกเราคิดค้นขึ้นเพื่อเชื่อมโยงให้ทุกคนมาร่วมกันผลักดันเรื่องการจัดการขยะกันอย่างทรงพลังสุด ๆ ขอบคุณสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมให้การสนับสนุนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง จนเกิดเป็นภาพที่น่าใจฟูเหลือกัน
Ladkrabang Waste Management Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้การจัดการมูลฝอย ลาดกระบัง)
จากโพสต์ก่อนหน้าเราได้ไปศูนย์คัดแยกขยะวงษ์พาณิชย์ คาราวานของทีม ThinkThings คิดก่อนทิ้ง ยังเดินทางไม่หยุด ไปต่อยัง Ladkrabang Waste Management Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้การจัดการมูลฝอย ลาดกระบัง) สิ่งแรกที่พวกเรารู้สึกประทับใจมากตั้งแต่เดินเข้ามา คือแม้ที่นี้จะอยู่ติดถนนที่รอบข้างมีความเป็นเมืองพอสมควร แต่มีการจัดวางเอาแปลงผักต่าง ๆ มาจัดเรียงตลอดทางที่เดินเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นคะน้า กะเพรา พริก มะเขือเทศ หรือจะเป็นทางเดินภายใต้หลังคาปลูกที่ลากเอาผลไม้ให้ลอยสูงขึ้นไปเหนือหัวก็ดี ทำให้ผู้มาเยี่ยมชมจะได้สัมผัสกับความร่มรื่นของสถานที่ได้อย่างชัดเจน คล้ายกับความเป็นสวน ที่ผู้คนสามารถเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจได้ แทบทุกตารางวาของสถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดแสดงความรู้ด้านการจัดการขยะ ในบริเวณแปลงผัก จะมีทั้งตะกร้าสำหรับทำปุ๋ยหมักจากเศษพืช ฟางข้าว ที่เมื่อเสร็จแล้วก็หมุนเวียนเอามาปลูกผักในพื้นที่นั้นเอง เมื่อเดินเข้าไปอีกนิดหน่อยจะเจอกับจุดรับขยะกำพร้ามาเข้ากระบวนการเผาเป็นเชื้อเพลิง RDF ขยะจำพวกนี้ที่เห็นว่ามีเยอะก็จะเป็นโฟมและเบาะรถยนต์ที่กองสูงพะเนิน ทำให้เห็นว่ามีขยะพวกนี้อยู่เยอะ ถ้าไม่นำมาเข้ากระบวนการ ก็อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร หรือหากกำจัดแบบผิด ๆ ก็สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ใกล้ ๆ กันเห็นรถเก็บขยะจอดหลายคัน เราได้รู้ว่าจะมีการตกลงกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อไปรับเอาขยะมูลฝอยและกากผลไม้ที่เหลือมารวมกันใช้ประโยชน์ในพื้นที่แห่งนี้ อย่างโซนหนึ่งจะจัดพื้นที่เอาไว้ให้ถังปุ๋ยหมักเกือบ 10 ถัง ที่มีการใช้เศษผลไม้ที่รับมา ทำให้ปุ๋ยหมักมีกลิ่นหอม นอกจากส่วนจัดแสดงให้ความรู้ ที่นี่ยังมีพื้นที่ร้านค้า ซึ่งพนักงานทำความสะอาดจะนำเอาสิ่งของบางประเภทเช่น ยางรถยนต์ เปลือกมะพร้าว […]
เรียนรู้ศูนย์คัดแยกขยะวงษ์พาณิชย์ สาขาสุวรรณภูมิ สถานที่รับซื้อขยะที่ช่วยให้ขยะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ จนเกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน
เพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “Circular economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียนกันอยู่แล้ว” วันนี้พวกเราทีมงาน Think Things ได้เดินทางมาเรียนรู้ศูนย์คัดแยกขยะวงษ์พาณิชย์ สาขาสุวรรณภูมิ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสถานที่รับซื้อขยะที่ช่วยให้ขยะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ จนเกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน บทความนี้อยากชี้ให้เห็นความเชื่อว่าการมีระบบจัดการที่สะดวก สบาย และสร้างความสุขให้แก่ประชาชนจะเป็นกลยุทธ์ที่เร่งให้เกิดการแยกขยะระดับครัวเรือนอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่เริ่มได้ง่ายที่สุดและสร้างผลกระทบทางบวกสูง สถานที่แห่งนี้มีความพิเศษคือเป็นสถานที่รับซื้อขยะขนาดใหญ่ ที่มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ที่นำขยะมาขายหรือส่งต่อได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักขยะ รถรับขยะ Delivery ทั่วเขตกรุงเทพและปริมณฑล ไปจนวิธีคิดอย่างอื่น ๆ ที่ดี ซึ่งพวกเราเห็นว่า หากนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับใช้ในพื้นที่อื่น ๆ จะช่วยเพิ่มจำนวนคนที่เข้ามาร่วมเป็นผู้แยกและส่งมอบขยะรีไซเคิลในประเทศของเราอย่างมีนัยยะสำคัญได้ อย่างแรกที่สำคัญมากในมุมมองของพวกเรา คือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับพื้นที่สำหรับคัดแยก หรือ เก็บรวบรวมสิ่งของที่ถูกนำมาทิ้ง ปรกติแล้วสภาพของพื้นที่รวบรวมขยะจะค่อนข้างเลอะเทอะ และมีกลิ่นเหม็น นั่นเพราะ ! มีขยะเปียกปะปนมา แล้วมันเกิดการย่อยสลาย จนเน่าเหม็นตามธรรมชาติ ! การแยกขยะเปียกออก หรือ การรับเฉพาะขยะแห้ง ทำให้กลิ่นเหม็นเหล่านี้แทบจะหายเกลี้ยง แล้วทำให้สถานที่เหล่านี้ น่าเข้ามาใช้บริการมากขึ้นอย่างมาก มันคือการเปลี่ยนให้โรงคัดแยกขยะกลายสภาพเป็นสถานที่ซึ่งให้ความรู้สึกไม่ต่างกับร้านสะดวกซื้อ หรือ ห้างสรรพสินค้า ยกตัวอย่าง โรงงานคัดแยกขยะ […]
Think-Things มุ่งเน้นลดและคัดแยกขยะ ที่ต้นทางในระดับ ครัวเรือน ชุมชน ร้านค้า และหน่วยงานต่างๆ
Think-Things : คิดก่อนทิ้ง เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนภายใต้สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK) ที่มุ่งเน้นลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางในระดับครัวเรือน ชุมชน ร้านค้า และหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างหุ้นส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะจากคนในระดับพื้นที่ (ซึ่งมีโครงการนำร่องในพื้นที่ย่านสามเสน ในเขตดุสิต และย่านรางน้ำ ในเขตรางน้ำ) และสื่อสารเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดการขยะ ยังไงฝากติดตามเพจของพวกเราด้วยนะคร้าบบ โครงการนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.)