
เล่าเรื่องปัญหาเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ พื้นที่สำรวจการจัดการขยะในพื้นที่รางน้ำ
ต่อจากโพสต์ก่อนหน้า วันนี้พวกเรา Think Things ก็จะมาเล่าเรื่องปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอีกครั้ง โดยเรามูฟจากพื้นที่สามเสนเขตดุสิต มาสู่การลงพื้นที่สำรวจการจัดการขยะในพื้นที่รางน้ำ เป็นเวลากว่า 3 เดือน ก่อนที่เราจะทำการต่อยอดไปเป็นไอเดียในการสร้างโมเดลธุรกิจหุ้นส่วนตามเป้าหมายของพวกเรา ในแบบที่เพื่อน ๆ เข้าใจได้ง่ายเช่นเดิม
เบื้องต้นพวกเราขอแจกแจงปัญหาที่พบตามมิติของผู้มีส่วนร่วมในระบบหมุนเวียนขยะในพื้นที่ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย องค์กร และ ผู้สัญจร
แต่ละ Role จะเชื่อมโยงส่งผลอย่างแตกต่างกันไปต่อสถานการณ์ในพื้นที่ (พบกับเรื่องราวของพวกเขาได้ในภาพปเบื้องต้นพวกเราขอแจกแจงปัญหาที่พบตามมิติของผู้มีส่วนร่วมในระบบหมุนเวียนขยะในพื้นที่ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย องค์กร และ ผู้สัญจร ซึ่งแต่ละ Role จะเชื่อมโยงส่งผลอย่างแตกต่างกันไปต่อสถานการณ์ในพื้นที่ (พบกับเรื่องราวของพวกเขาได้ในภาพประกอบของโพสนี้)
เหล่านี้คือมิติของผู้มีส่วนร่วมหลัก ๆ ในพื้นที่รางน้ำ นอกจากนี้บริการเก็บขยะของพื้นที่นั้นแม้จะมีความสม่ำเสมอแต่ก็มีความเหลื่อมของเวลาและรถเก็บขยะขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าถึงตรอกซอกซอยของหลาย ๆ ชุมชนได้ ทำให้ต้องมีการนำขยะมาวางไว้อย่างไม่เป็นทางการซึ่งเกิดความเน่าเหม็นเดือดร้อนเป็นความขัดแย้งในชุมชน ดังนั้นการออกแบบพื้นที่และนโยบายการจัดการขยะร่วมกันในแต่ละชุมชนที่จะทำจึงต้องมีความเฉพาะเจาะจง อันเป็นต้นทุนของผู้ที่เข้าไปจัดการหรือสมาชิกชุมชนที่ต้องเสียสละเวลามาออกแบบร่วมกัน
แน่นอนนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐก็อาจจะส่งผลกับผู้มีส่วนร่วมในวงจรนี้ โชคดีที่พวกเราค้นพบบางชุมชนที่ผู้นำและชุมชนมีความเข้มแข็งได้มีการทดลองโครงการด้านการแยกขยะไว้แล้ว ที่พร้อมจะรับการเปลี่ยนแปลงพัฒนา หรือร้านค้าและห้างสรรพสินค้าที่เจ้าของมีความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
พื้นที่รางน้ำเขตราชเทวีคือหนึ่งในพื้นที่ทำงานของพวกเราที่จะขยายผลต่อไปในอนาคต นับว่าเป็นความท้าทายและโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ ThinkThings กำลังทำคือหาการร่วมมือที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มคนในระบบนี้ให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ต้นทาง จุดกำเนิดขยะ การเดินทางนี้ต้องการความช่วยเหลือและการร่วมแรงร่วมใจมากแต่พวกเราจะทำอย่างเต็มที่
ฝากเพื่อน ๆ กดไลก์กดแชร์โพสต์เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยเช่นเดิม หากมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่ดีและน่าสนใจสามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ในคอมเม้นเลย
หากมองเฉพาะทัศนคติของตัวบุคคลอาจบอกได้ว่าผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่รางน้ำเป็นเขตธุรกิจ ผู้ที่อยู่อาศัยจึงเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่อยู่คอนโดทำงานในเมืองและธุรกิจที่เปิดในถนนรางน้ำอย่างร้านอาหารและร้านกาแฟ
กลุ่มธุรกิจมีแนวโน้ม มีระดับความสนใจ ใส่ใจ ในการจัดการขยะในพื้นที่ของตัวเองระดับปานกลาง อีกส่วนหนึ่งคือเจ้าของร้านไม่ได้สนใจแต่เดิม ส่วนหนึ่งผู้อยู่อาศัยมีแรงต้านในการเริ่มจัดแจงพื้นที่สำหรับแยกขยะซึ่งมีขยะบางประเภทจำนวนมาก อาทิ ภาชนะใส่อาหาร ช้อนส้อมพลาสติก หรือแก้วน้ำ ซึ่งได้มีการรวบรวมไว้ส่งต่อ บางร้านอาหารอาหาร มีการแยกเศษอาหารที่แยกทิ้งไว้หลังลูกค้ากินเสร็จ ซึ่งไม่ยากมากนัก ความท้าทายคือทำอย่างไรจึงจะสนับสนุนสร้างแรงจูงใจได้ชัดเจนโดยเฉพาะในด้านการตลาดและการเงินจนแต่ละร้านค้าตระหนักและมีการจัดกำลังคนเพื่อจัดการขยะ
ส่วนของผู้พักอาศัยคอนโด โชคดีการที่ผู้อยู่อาศัยเป็นคนวัยทำงานอาจมีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากพอสมควรเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มาก แต่เนื่องจากมีแรงต้านของพื้นที่ในการจัดเก็บขยะและนโยบายของคอนโดที่อาจไม่สามารถบังคับใช้ได้มากนักหรือไม่ได้มีการตระหนัก การสร้างแรงจูงใจและระบบที่ดีจึงเป็นโจทย์ที่ยาก แต่ละบุคคลอาจมีแรงจูงใจแตกต่างกันมากทั้งที่อยากทำเพื่อสังคมหรือเพื่อความพึงพอใจส่วนตัว
สุดท้ายพวกเรายังต้องคำนึงถึงลักษณะขยะที่แต่ละที่พักอาศัยและร้านค้าจะสร้างขึ้นและลักษณะการใช้พื้นที่อย่างเฉพาะเจาะจงซึ่งต้องใช้ข้อมูลที่ค่อนข้างเจาะลึก
คนกลุ่มนี้คือส่วนสำคัญของระบบการหมุนเวียนขยะไม่เว้นแม้ในย่านธุรกิจอย่างซอยรางน้ำ การรับซื้อของพวกเขามีส่วนให้เกิดการตระหนักที่จะแยกขยะที่ต้นทางสำหรับผู้อยู่อาศัยส่วนหนึ่งเพราะได้ค่าตอบแทนจากการขายขยะให้ซาเล้งหรือได้ช่วยเหลือซาเล้ง
ปัญหาสำคัญที่เกิดในมิตินี้คือ ซาเล้งหลายคนไม่มีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอสำหรับการสะสมขยะ หรือขยะหายไปก็ยังเกิดขึ้นได้ ทำให้มูลค่าที่ขายต่อได้ไม่มากนัก ในกลุ่มซาเล้งก็มีการแข่งขันกันเองด้วย นอกจากนั้นพวกเขามีแนวโน้มหลีกเลี่ยงขยะที่ต้องใช้การจัดการสูงแต่ผลตอบแทนต่ำอย่างถุงพลาสติกที่เปื้อนเศษอาหาร ราคาของขยะที่ขึ้นลงก็มีผลต่อการเลือกเส้นทางและการเก็บขยะในการทำงานของพวกเขาเช่นกันที่ต้องคำนวณต้นทุนเดินทางและวันเวลาต่าง ๆ ในการทำงานใหม่อยู่ตลอด
ผนวกกับความเป็นรายย่อยทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถคาดการณ์บริการของพวกเขาได้ง่ายดายนักหากไม่รู้จักเป็นการส่วนตัวทำให้การเชื่อมโยงพวกเขามีความยุ่งยากมากขึ้นอีก
องค์กรในที่นี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัท สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า พวกเขามักมีระเบียบหรือแนวทางการจัดการขยะที่ชัดเจน อีกทั้งลักษณะการตั้งถังขยะที่เป็นจุด ๆ ในพื้นที่ขององค์กร ยิ่งถ้ามีการแยกถังขยะไว้ระดับนึง ก็ช่วยลดโอกาสการปะปนเสียหายของทรัพยากรขยะที่ประชากรในองค์กรจะสร้างขึ้น ในแง่ที่เมื่อประชากรมีขยะจำนวนไม่มาก ก็จะนำมาทิ้งที่จุดทันที จึงลดโอกาสที่ประชากรจะสะสมขยะปะปนกัน
การกำหนดนโยบายการจัดการขยะขององค์กรใด ๆ มีแนวโน้มทำให้คนปฏิบัติตามได้มากกว่าด้วยอำนาจของระบบโครงสร้างไปจนการจัดหาบุคลากรเข้ามาช่วยดำเนินการก็ทำได้อย่างค่อนข้างชัดเจนโจทย์ปัญหาคือปัจจัยภายนอกที่จะทำให้ระดับผู้บริหารมองเห็นคุณค่าทั้งในเชิงธุรกิจและสังคมที่จะขับเคลื่อนให้องค์กรเกิดการทำงานตามระบบจัดการที่วางไว้
องค์กรมีต้นทุนเรื่องกำลังคนและพื้นที่หากต้องการพัฒนาเรื่องเหล่านี้ ทั้งนี้ผู้บริหารแต่ละคนก็อาจมีมุมมองแตกต่างกันไปสำหรับเรื่องนี้ และพวกเขายังจำเป็นต้องคำนึงเรื่องการสร้างข้อตกลงกับพาร์ทเนอร์ที่อยู่ใน value chain ของการหมุนเวียนขยะไปเป็นทรัพยากรซึ่งเป็นปรกติของการสร้างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ
ผู้สัญจรคือผู้ที่ผ่านไปมาเพื่อเข้าใช้บริการหรือมีปฏิสัมพันธ์กับครัวเรือนหรือองค์กรในพื้นที่แต่ไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่ ส่วนใหญ่พวกเขาสร้างขยะจำพวกภาชนะใส่อาหาร อย่างถุง กล่อง และขวด ในระหว่างรอเดินทางต่อด้วยรถเมล์ รถตู้ ฯลฯ
กลุ่มนี้มักปฏิบัติตามแนวทางการจัดการขยะของพื้นที่ ซึ่งพวกเขามักมีพฤติกรรมเร่งรีบและจำนวนหนึ่งไม่รู้สึกยึดโยง ผูกพันธ์กับพื้นที่ ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นการที่พวกเขามีเวลาจำกัดในการจัดการ ดูแล ขยะบางประเภทอย่างเหมาะสม ไปจนเข้าถึงจุดทิ้งขยะที่มีอย่างจำกัดในพื้นที่
นอกจากนั้นการที่พวกเขาจะรับนโยบาย การสื่อสาร การให้ความรู้ที่เหมาะสมจึงค่อนข้างยาก ทางออกที่ดีอาจเป็นการพยายามออกแบบจุดทิ้งขยะที่ดีพอให้พวกเขาแยกขยะให้ได้หรือมีนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกให้พวกเขาที่เน้นเรื่องการประหยัดเวลา
เช่นเดียวกับที่พื้นที่สามเสนที่พวกเราเคยเล่าไปในโพสต์ก่อนหน้า กลุ่มนี้คือผู้รับซื้อที่มักอยู่ปลายทางของ value chain ทรัพยากรขยะ ที่รับซื้อขยะจากรายย่อยก่อนจะเปลี่ยนกลับไปเป็นวัสดุที่ใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง
โดยภาพรวมอาจพูดได้ว่าพวกเขามีส่วนสำคัญในการกำหนดราคารับซื้อทรัพยากรขยะอย่างมากไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง นโยบายของบริษัทเหล่านี้ไม่ว่าจะกำหนดให้ราคาขยะแต่ละประเภทมีความผันผวนน้อยหรือมาก ขึ้นหรือลง ต่างก็ส่งผลต่อพฤติกรรมและแรงจูงใจของรายย่อยใน value chain จึงนับว่าพวกเขาเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงในการจัดการขยะ ซึ่งนับเป็นความไม่แน่นอน
ที่สำคัญพวกเขายังมีอำนาจต่อรองมากในระบบและยังมีความเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกันในระบบของกันและกันเองคล้าย ๆ กับกลุ่มซาเล้งด้วย ที่ทำให้การออกแบบนโยบายการจัดการขยะทั้งจากราชการ องค์กร ชุมชน ผู้ขับเคลื่อน มีความท้าทายที่ต้องใคร่ครวญอย่างมากก่อนจะสร้างข้อตกลงใด ๆ