ThinkThings

Nov
20

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ที่ได้ค้นพบ จากการลงพื้นที่สำรวจการจัดการขยะในพื้นที่สามเสน เป็นเวลากว่า 3 เดือน

วันนี้พวกเรา Think Things จะมาเล่าเรื่อง ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ที่ได้ค้นพบ จากการลงพื้นที่สำรวจการจัดการขยะในพื้นที่สามเสน เป็นเวลากว่า 3 เดือน ในแบบที่เพื่อน ๆ เข้าใจได้ง่าย ก่อนที่เราจะทำการต่อยอดไปเป็นไอเดียในการสร้างโมเดลธุรกิจหุ้นส่วนตามเป้าหมายของพวกเรา เบื้องต้นพวกเราขอแจกแจงปัญหาที่พบตามมิติของผู้มีส่วนร่วมในระบบหมุนเวียนขยะในพื้นที่ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย องค์กร และ ผู้สัญจร ซึ่งแต่ละ Role จะเชื่อมโยงส่งผลอย่างแตกต่างกันไปต่อสถานการณ์ในพื้นที่ (ซึ่งเราจะเล่าถึงพวกเขาในภาพประกอบของโพสนี้) เหล่านี้คือมิติของผู้มีส่วนร่วมหลัก ๆ ในพื้นที่ ในส่วนของลักษณะพื้นที่เอง บริการเก็บขยะของพื้นที่นั้นแม้จะมีความสม่ำเสมอแต่ก็มีความเหลื่อมของเวลาและรถเก็บขยะขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าถึงตรอกซอกซอยของหลาย ๆ ชุมชนได้ ทำให้ส่งผลต่อการออกแบบพื้นที่และนโยบายการจัดการขยะร่วมกันในแต่ละชุมชนที่จะต้องมีความเฉพาะเจาะจงอันเป็นต้นทุนของผู้ที่เข้าไปจัดการหรือสมาชิกชุมชนที่ต้องเสียสละเวลามาออกแบบร่วมกัน จุดทิ้งขยะหลายจุดยังไม่ได้เป็นถังแบบแยกประเภทและร่วม 40 %เป็นจุดทิ้งขยะอย่างไม่เป็นทางการที่ผู้อยู่อาศัยร่วมกันนำขยะมาทิ้งซึ่งต้องมีการจัดการ ปัจจัยทางพื้นที่ส่งผลมากต่อสถานการณ์ ยังไม่นับนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจจะส่งผลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับผู้มีส่วนร่วมในวงจรนี้ พื้นที่สามเสนเขตดุสิตคือหนึ่งในพื้นที่ทำงานของพวกเราที่จะขยายผลต่อไปในอนาคต นับว่าเป็นความท้าทายและโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ ThinkThings กำลังทำคือหาช่องว่างของธุรกิจ มองหาจุดร่วมที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มคนในระบบนี้ให้ร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ต้นทางของขยะคือผู้บริโภคให้ได้ อาจต้องมีการลองผิดลองถูกอีกพอสมควรแต่พวกเราจะทำอย่างเต็มที่ ดังนั้นฝากเพื่อน ๆ กดไลก์กดแชร์โพสต์เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะ หากมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่ดีและน่าสนใจสามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ในคอมเม้นเลย

Nov 20 2023
ThinkThings
DETAIL
Nov
20

เรื่องราวของ 4 โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน จากความร่วมมือในชุมชน

ชุมชนก็มีหัวใจ สิ่งแวดล้อมก็มีหัวใจ เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจึงเป็นโมเดลที่ใช้ได้ในหลาย ๆ ชุมชน ที่ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายทั้งพื้นที่ ผู้คน และทรัพยากร แต่ด้วยวิธีการเช่นนี้เอง ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจ หรือความร่วมมือในชุมชนขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ และยิ่งไปกว่านั้นคือเวิร์กสุด ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนแปรรูปพลาสติกสู่ผ้ากาสาวพัสตร์ เหรียญดิจิทัลที่แลกได้ด้วยการแยกขยะ ตลาดกลางของธุรกิจรีไซเคิลที่กระจายไปทั่วประเทศ และแอปสั่งอาหารที่มุ่งกำจัด food waste จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วกรุง ติดตามเรื่องราวของ 4 โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ในแคปชันของแต่ละภาพไปด้วยกัน วัดจากแดง – วัดเล็ก ๆ ที่อยู่ในเกาะพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการจัดการขยะในระดับชุมชน โดยมีพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโรเป็นแกนนำในการนำพาชุมชนมาร่วมกันจัดการขยะทั้งขยะชีวภาพที่นำไปหมักเป็นปุ๋ย ขยะพลาสติกที่นำไปสู่การสร้าง product ใหม่ ๆ อย่างจีวรจากขวดพลาสติก จนกลายเป็นสถานที่หนึ่งที่หากสนใจเรื่องการจัดการขยะจะต้องแวะมาที่นี่ โดยกุญแจสำคัญคือ “เรื่องเล่า” ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา กล่าวคือนำเรื่องของ “มฆมานพ” และเพื่อนบ้านอีก 32 คนที่นำชุมชนจัดการขยะจนไปเกิดเป็นพระอินทร์และเทวดารุ่นแรกบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในที่สุด visit: https://maps.app.goo.gl/WCinWVu7P77FWzh86 ตัดภาพมาที่ใจกลางเมืองอย่าง “อารีย์” ย่านสุดชิคที่มีทั้งออฟฟิศ บ้านคน […]

Nov 20 2023
ThinkThings
DETAIL
Nov
20

ขยะ ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่คุณอยู่ได้

ปัญหาขยะในชุมชนเป็นปัญหาสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พอพูดถึงการสร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว การผลิตสินค้าต่าง ๆ มีปลายทางคือขยะจากการผลิตเหล่านี้ สมมติว่าชุมชน A มีต้นกล้วยเป็นจำนวนมาก เราจึงคิดผลิตขนมกล้วยออกมาขายในชุมชน แต่ระหว่างทางนั้น เรายังมีส่วนของกล้วยที่ต้องทิ้ง เช่น เปลือกกล้วย หรือกล้วยที่งอมเกินไป รวมถึงบรรจุภัณฑ์และขยะอื่น ๆ ด้วย ไป ๆ มา ๆ ขยะเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นทุกที แทนที่จะกำจัดหรือทิ้งไปแบบเดิม เรามีแนวคิดหนึ่งอยากมานำเสนอ เพื่อช่วยให้ขยะเหล่านี้มีประโชยน์แถมยังเพิ่มรายได้ให้ชุมชนด้วย Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นแนวคิดหนึ่งที่เชื่อในการใช้สิ่งต่าง ๆ ในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้คงทน ใช้ทรัพยากรให้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอให้กลับมาใช้งานได้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าให้สามารถใช้งานได้ดี ยกตัวอย่างเช่น กล้วย ซึ่งเรารู้จักกันดีในนามพืชสารพัดประโยชน์ ที่เราสามารถใช้กล้วยทั้งต้นทำประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องใช้ หรือว่าเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน จากที่ชุมชน A ผลิตขนมกล้วยขาย แทนที่เราจะทิ้งใบตองไปเปล่า ๆ […]

Nov 20 2023
ThinkThings
DETAIL
Oct
04

ทิ้งแบตลิเทียมเก่ายังไงให้ได้บุญ

link : https://www.facebook.com/photo/?fbid=687814626742775&set=gm.695580245853448&idorvanity=515303717214436

Oct 04 2023
ThinkThings
DETAIL
Aug
19

เปลี่ยนเศษอาหารใกล้ตัว เป็นวัสดุทนแทน

  Shell Homage ก่อตั้งโดยดีไซเนอร์ชาวอียิปต์ Rania Elkalla เปลี่ยนเปลือกไข่ เปลือกถั่ว และเปลือกโกโก้ที่ถูกทิ้ง ให้เป็นวัสดุที่เลียนแบบแก้ว หินอ่อน ฯลฯ ได้เนียนสุด ๆ ที่สำคัญคือมันสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100% จ้า โดยใช้เทคนิคในการผลิต เช่น การอัดขึ้นรูป การอัด และการฉีดขึ้นรูป จะใช้เป็นของตกแต่งภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ หรือแม้กระทั่งล่าสุดที่เขาได้ร่วมมือกับ SAMSUNG ในการออกแบบเคส Galaxy Z Flip 4 ด้วยนะ เป็นอีกทางเลือกในการใช้วัสดุจาก Food waste เพื่อทดแทนพลาสติกที่ทำจากปิโตรเลียม⁣ รวมถึงวัสดุจากธรรมชาติได้ดีทีเดียวเลยเนอะ https://www.gp-award.com/en/produkte/09-01 https://www.facebook.com/shellhomage/

Aug 19 2023
ThinkThings
DETAIL
TOP